อ่านต่อ : http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=312199&chapter=338#ixzz17WnaTdRz

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13




The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์               แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
       ในวันนี้ กล่าวถึงความสาคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สาคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทำให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสาคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสาคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทำลายสิ่งของ

คำถามที่ดิฉันได้คิดวิเคราะห์
         1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
            ตอบ ไม่เหมาะสม เพราะ บางคนเรียนหนักมากจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ไม่ออกกำลังกาย ไม่เล่นกีฬา เอาแต่อ่านหนังสือและการเข้านอนก็เป็นสิ่งสำคัญควรจะรักษาเวลาในการเข้านอนหรือนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและอีกอย่างคือการบริโภคก็ควรที่จะควบคุมกินอาหารให้ครบห้าหมู่ทุกวันลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์

        2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก         กำลังกายไหม
              ตอบ เด็กไทยและผู้ใหญ่ในปัจจุบันไม่ค่อยสนใจในการออกกำลังกายและไม่ค่อยเล่นกีฬาสักเท่าไรนัก เด็กเรียนเสร็จก็จะไปเทียว ส่วนผู้ใหญ่ก็ทำงานจนไม่มีเวลาออกกำลังกาย การวานแผนในการออกกำลังในทุกวันก็ไม่ค่อยมีสักเท่าไรนัก และเวลาไปพบแพทย์ แพทย์มักจะถามเรื่องของโรคประจำตัวโดยไม่ถามถึงกีฬาประจำตัวเพราะคนที่มีโรคประจำตัวมักไม่ค่อยออกกำลังกาย ส่วนคนที่ออกกำลังเสมอโรคมักไม่ค่อยมี

        3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
          ตอบ มี แต่ส่วนน้อย ก็เพราะอารมณ์ของเราไม่สามารถบังคับกันได้ เป็นธรรมดาของการแข่งขันที่ต้องมีแพ้ ชนะ ส่วนที่แพ้ก็จะปลอบใจตัวเองด้วยการร้องไห้ ส่วนคนที่ชนะก็จะให้กำลังใจตัวเองและอาจจะร้องไห้ออกมาด้วยความยิ่งดี

       4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
         ตอบ มีการส่งเสริม จะเห็นจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงก็จะมีกิจกรรมให้นักเรียนได้เล่นและได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง เป็นการส่งเสริมให้เด็กเก่งวิชาการควบคู่กับมีสุขภาวะที่แข็งแรง

       5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
          ตอบ  ครูประจำชั้นส่วนใหญ่เวลาเปิดภาคเรียนก็จะถามประวัติเด็กก่อน  จะถามชื่อ ที่อยู่ แต่ไม่ค่อยจะถามเรื่องสุขภาพของเด็กและเรื่องการเรียนของเด็กว่าเด็กมีผลการเรียนที่ผ่านมาเป็นเช่นไร เด็กมีปัญหาทางบ้านไหม? นี้คือสิ่งสำคัญที่ครูในอนาคตต้องทำความเข้าใจกับเด็กให้มาก ควรจะดูแลเอาใจใส่เด็กให้มากกว่านี้และเข้าหานักเรียนเด็กจะได้รู้สึกผูกพันกับครู

       6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
          ตอบ อาจจะมีแต่ไม่มากนักเพราะโรงเรียน่สวนใหญ่เน้นที่วิชาการ เด็กที่มีกลุ่มเสี่ยงก็จะจัดให้อยู่ในห้องเดียวกัน เพื่อสะดวกในการดูแลปกครองเด็กโดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่ตามมา ทำให้เด็กกลุ่มเสี่ยงมีความรู้สึกว่าตัวที่มีปัญหาอยู่แล้วกลับเพิ่มปัญหาอีก

       7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
          ตอบ  ควรจะมีการจัดรายวิชาเลือกให้เด็กได้ควบคุมอารมณ์ และให้เด็กได้เลือกรายวิชาที่ตนเองถนัดเด็กจะได้มีความสุขในการเรียนมากขึ้น

       8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
          ตอบ  ถ้าปัจจุบันน้อยมากเพราะครูส่วนใหญ่เน้นที่วิชาการมากโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพจิตของเด็กว่าเด็กรู้สึกอย่างไรกับการเรียนที่เน้นแต่วิชาการ

       9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
          ตอบ มีแต่ไม่ทั่วถึงและแบบประเมินรายละเอียดครูควรศึกษาจากพฤติกรรมของนักเรียนในโรงเรียนก่อน
      
        การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting(2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ(Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น